Nokia 6220 Focus
& Review
Overview

โนเกีย 6220 เป็นโทรศัพท์อีกรุ่นหนึ่งที่ถูกจับตามองจากผู้บริโภคเนื่องด้วยรูปทรงที่เรียบง่ายเหมาะต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันและความสามารถที่มีในโทรศัพท์รุ่นนี้
อันได้แก่ กล้องถ่ายรูป เบราเซอร์รุ่นใหม่
และที่สำคัญที่สุดคือรองรับเทคโนโลยีการรับ/ส่งข้อมูล
(data) ใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า EDGE ซึ่งจะเป็นมาตรฐานของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่จะมาแทน
GPRS ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งระบบ EDGE สามารถทำความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลได้สูงถึง
118.4 กิโลบิตต่อวินาที นับเป็นโทรศัพท์เครื่องแรกที่รองรับเทคโนโลยีนี้ครับ
Physical Aspect

Look and Feel ลักษณะภายนอกของ
6220 จะมีขนาดและน้ำหนักที่ใกล้เคียงกับรุ่น
6610 โดยเฉพาะอย่างยิ่งดีไซน์ของตัวเครื่องก็ดูคล้ายคลึงกันมาก
ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบาและจับได้ถนัดกระชับมือ
สามารถเปลี่ยนหน้ากากด้านหน้า แผงปุ่มกดและฝาครอบแบตเตอรี่ด้านหลังให้มีสีสันได้ตามใจชอบ
แต่ทั้งนี้ส่วนที่เป็นหน้ากากจะไม่ครอบคลุมถึงบริเวณเลนส์ที่อยู่ด้านหลังตัวเครื่องเพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงควรระมัดระวังรอยขีดข่วนในบริเวณนี้เป็นพิเศษ
และนอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ทางโนเกียได้เพิ่มเข้ามา
อันได้แก่แถบกันลื่นบริเวณลำโพงด้านข้างตัวเครื่องซึ่งช่วยให้จับตัวเครื่องขณะสนทนาได้ดีขึ้นเล็กน้อยครับ

4,096 colors display เป็นที่น่าเสียดายที่โนเกีย
6220 ยังคงใช้หน้าจอ 4,096 สีชนิด passive
matrix เช่นเดียวกับรุ่น 7250 มือถือติดกล้องที่ออกมาก่อนหน้าเมื่อครึ่งปีก่อน
ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของโทรศัพท์รุ่นนี้
เนื่องจากความละเอียดในการแสดงผลภาพของหน้าจอชนิดนี้ยังไม่เหมาะต่อการนำมาใช้เป็น
viewfinder ของกล้องถ่ายรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีหน้าจอโทรศัพท์มือถือในยุคนี้ได้ก้าวไปไกลกว่าระดับนี้มากแล้วครับ

Redesign button หากดูกันเพียงผิวเผินคงจะไม่เห็นดีไซน์อันโค้งมนของปุ่มตัวเลขและปุ่มสี่ทิศ
ซึ่งทางโนเกียได้ออกแบบให้ปุ่มตัวเลขแถวกลางมีระดับต่ำกว่าปุ่มอื่นเล็กน้อยเพื่อความสวยงามและให้ผู้ใช้สามารถแยกแยะปุ่มได้ด้วยการสัมผัสเนื่องจากปุ่มต่างๆ
ของ 6220 จะอยู่ติดกันหมด จึงก่อให้เกิดปัญหาการกดพลาดได้ง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีนิ้วมือใหญ่
แต่สำหรับปุ่มสี่ทิศจะไม่มีปัญหาในการใช้งานแต่อย่างใดเนื่องจากถูกออกแบบมาให้แยกออกจากปุ่มรอบด้านและมีลักษณะโค้งเว้าเข้ากับสรีระของนิ้วเป็นอย่างดี

Menu Navigation โนเกีย 6220
ได้มีการพัฒนาซอฟท์แวร์ในหลายๆ ส่วนเพื่อลบข้อด้อยที่ผ่านมาของโทรศัพท์รุ่นก่อนๆ
และเพิ่มความสามารถบางประการที่น่าสนใจเข้ามา
หนึ่งในนั้นก็คือการเปลี่ยนรูปแบบเมนูหลักได้สองลักษณะคือ
เมนูแบบไอคอน (grid) และแบบรายการ (list)
เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน
ใครที่ชอบรูปภาพใหญ่ๆ ก็สามารถเลือกแบบ list
view หรือถ้าใครชอบความคล่องตัวก็สามารถเลือกแบบ
grid view ได้ สำหรับความสามารถพื้นฐานต่างๆ
ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิมอย่างครบถ้วน อันได้แก่
การเข้าเมนูด้วยคีย์ลัด การสร้างเมนูส่วนตัว
(go to) ที่ผู้ใช้สามารถจัดกลุ่มเมนูที่ใช้งานบ่อยไว้ด้วยกันโดยใช้ปุ่มซอฟท์คีย์ขวามือในการเรียกเมนูเหล่านั้นขึ้นมา
นอกจากนี้ในส่วนของปุ่มสี่ทิศยังสามารถใช้เป็นทางลัดเข้าเมนูได้อีก
4 รายการได้แก่ สมุดโทรศัพท์ ข้อความ กล้องถ่ายรูป
และปฏิทิน อย่างไรก็ตามความสามารถทั้งหมดนี้ยังให้ความคุ้นเคยในการใช้งานด้วยรูปแบบเดิมๆ
ของโนเกียอย่างไม่เปลี่ยนแปลงครับ
All Features
Shared Memory 4 MB โนเกีย
6220 มาพร้อมกับหน่วยความจำมาตรฐานภายในเครื่องขนาด
4 เมกะไบต์ สำหรับการจัดเก็บรายชื่อในสมุดโทรศัพท์
, ข้อความ SMS , ข้อความ MMS , ภาพและเสียงเรียกเข้า
, นัดหมาย และ จาวาแอพลิเคชั่นทั้งหมดในเครื่องด้วยการใช้หน่วยความจำร่วมกัน
(Shared Memory) ซึ่งจะทำให้มีการจัดสรรหน่วยความจำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ

Built-in Digital Camera ถ้าจะถามผมว่าอะไรคือจุดเด่นของโทรศัพท์รุ่นนี้หนึ่งในคำตอบนั้นเห็นจะไม่พ้นกล้องถ่ายรูปที่อยู่บริเวณด้านหลังเครื่อง
เพราะด้วยรูปแบบการใช้งานที่เรียบง่าย สามารถถ่ายภาพนิ่งด้วยคุณภาพรูปถ่ายระดับ
CIF (352 x 288) พร้อมทั้งความสามารถเพิ่มเติมอื่นๆ
มากมายที่ประยุกต์ใช้กับกล้องของ 6220 อันได้แก่การปรับโหมดถ่ายภาพบุคคล
(portrait) สำหรับใช้เป็นภาพประจำรายชื่อในสมุดโทรศัพท์
การถ่ายภาพตอนกลางคืน (night mode) ที่สามารถชดเชยแสงได้
และที่เด็ดที่สุดก็คือการถ่ายภาพเคลื่อนไหวพร้อมบันทึกเสียงด้วยในตัวหรือที่เรียกว่า
video clip โดยสามารถบันทึกภาพต่อเนื่องได้นานถึง
20 วินาที สำหรับภาพต่างๆ ที่เราได้ถ่ายไว้นี้จะเก็บบันทึกไว้ในหน่วยความจำส่วนกลางของเครื่องขนาด
4 เมกะไบต์ ซึ่งสามารถใช้เป็นภาพ wallpaper
ที่หน้าจอ ใช้กำหนดให้กับรายชื่อต่างๆ ในสมุดโทรศัพท์
หรือส่งไปกับข้อความแบบ MMS ได้ในภายหลัง
ซึ่งในส่วนของ video clip นี้เป็นความสามารถที่หาได้ยากมากในโทรศัพท์ระดับกลางเช่นนี้
เพราะปกติจะมีเฉพาะในสมาร์ทโฟนหรือ PDA เท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตามด้วยการใช้หน้าจอระดับ 4,096
สีรุ่นเก่าจึงก่อให้เกิดข้อจำกัดมากมายในการแสดงภาพถ่ายเหล่านี้ครับ
Picture Phonebook จากอดีตที่ผ่านมาใครที่เคยใช้โทรศัพท์ของโนเกียที่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการ
Symbian จะตระหนักดีว่าข้อเสียด้านสมุดโทรศัพท์ที่สำคัญก็คือไม่สามารถนำรูปใน
gallery มาประกอบรายชื่อต่างๆ ในสมุดโทรศัพท์
แต่เมื่อมาถึงในรุ่นนี้ ทางโนเกียได้ปรับปรุงระบบปฏิบัติการของ
6220 ให้มีความสามารถมากขึ้นโดยผู้ใช้สามารถนำภาพถ่ายหรือภาพที่ดาวน์โหลดมากำหนดเป็นภาพประจำบุคคล
และเมื่อบุคคลดังกล่าวโทรเข้ามาก็จะปรากฏภาพดังกล่าวพร้อมชื่อให้เห็น
พร้อมทั้งยังสามารถเปลี่ยนมุมมองของสมุดโทรศัพท์ให้เป็นแบบชื่อพร้อมรูปภาพได้อีกด้วย
ซึ่งความสามารถเหล่านี้โนเกียรุ่นก่อนๆ จะไม่สามารถทำได้
ในส่วนของความสามารถพื้นฐานต่างๆ ของสมุดโทรศัพท์ยังคงมีอยู่อย่างครบถ้วน
อันได้แก่ การจัดแบ่งรายชื่อออกเป็นกลุ่มต่างๆ
5 กลุ่มเพื่อแยกเสียงเรียกเข้าและภาพโลโก้ประจำกลุ่ม
สามารถบันทึกข้อมูลการติดต่อได้ 10 ประเภท
(5 หมายเลข + 5 ข้อความ) ต่อหนึ่งรายชื่อ
พร้อมทั้งสามารถแสดงรายชื่อที่บันทึกในโทรศัพท์ได้พร้อมกับรายชื่อที่อยู่ในซิมการ์ดอีกด้วย
ทำให้เมื่อมองโดยรวมแล้วสมุดโทรศัพท์ของ 6220
เป็นสมุดโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกระดับหนึ่งเลยทีเดียวครับ
New MMS client สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอีกเล็กน้อยประการที่
3 นอกเหนือจากเมนูแบบ grid view และการนำรูปภาพประกอบในสมุดโทรศัพท์ก็คือ
ระบบการรับ-ส่งข้อความแบบ MMS ที่ในรุ่นนี้ได้ลบข้อด้อยจากรุ่นก่อนๆ
ที่ไม่สามารถเพิ่มสไลด์แผ่นใหม่ได้ ทำให้ข้อความแบบ
MMS ของโนเกียใส่รูปภาพได้เพียง 1 ภาพเท่านั้น
แต่สำหรับในรุ่น 6220 นี้ผู้ใช้สามารถสร้างสไลด์แผ่นใหม่เพื่อใส่รูปภาพที่บอกเล่าเรื่องราวต่อจากภาพแรก
พร้อมทั้งยังสามารถแนบไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงที่บันทึกเอาไว้ไปพร้อมกับภาพได้อีกด้วย
สำหรับการรับ/ส่งข้อความภาษาไทยนั้น โนเกีย
6220 รองรับทั้งการอ่านและพิมพ์ข้อความภาษาไทยอย่างสมบูรณ์แบบครับ
Presence-enhanced contacts ความสามารถประการที่
4 ที่โนเกีย 6220 แตกต่างจากโนเกียรุ่นอื่นๆ
ก็คือระบบ presence-enhanced contact ซึ่งเป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลการติดต่อของเจ้าของเครื่องไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(server) ของผู้ให้บริการ ประโยชน์ของระบบนี้ก็คือหากข้อมูลการติดต่อของเจ้าของมีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถอัพเดทข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง
server และข้อมูลนี้ก็จะปรากฏแก่ผู้ที่เข้ามาค้นหาทั่วไปทุกคนโดยไม่ต้องโทรไปบอกทุกคนที่รู้จักให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลติดต่อของเจ้าของ
จึงเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากครับ
E-mail Client ในช่วงระยะที่ผ่านมานี้โนเกียได้ทำการติดตั้งจาวาแอพพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับรับ/ส่งอี-เมล์ผ่านระบบ
POP3/IMAP4 และ SMTP ในมือถือของตนหลายรุ่นรวมทั้ง
6220 โดยผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอี-เมล์จาก
mailbox มาอ่านในเครื่องได้โดยตรงเช่นเดียวกับการใช้โปรแกรม
outlook express แต่เนื่องจากเป็นเพียงแอพพลิเคชั่นเสริมในภายหลังจึงมีความสามารถที่ค่อนข้างจำกัดอันได้แก่
ไม่รองรับการอ่านหรือพิมพ์ข้อความภาษาไทย
และไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์หรือส่งไฟล์แนบไปกับอี-เมล์ได้
ทำให้ประโยชน์ใช้สอยหลักของแอพพลิเคชั่นนี้มีไว้เพื่อการอ่านหรือพิมพ์ข้อความยาวๆ
(ไม่เกิน 5,000 ตัวอักษร) ซึ่งจะประหยัดค่าส่งข้อความได้มากกว่าวิธีอื่นพอสมควรครับ
Integrated Stereo FM radio with Loudspeaker
โนเกีย 6220 มาพร้อมกับภาครับวิทยุ
FM พร้อมด้วยระบบเสียงแบบ stereo ผ่านหูฟังแบบสองลำโพง
และสามารถฟังผ่านลำโพงในตัวเครื่องด้วยระบบ
handsfree ในกรณีที่ต้องการฟังแบบหลายคนก็ได้
ซึ่งคุณภาพเสียงที่ออกมาก็จัดว่าอยู่ในระดับที่พอใช้ได้
จุดเด่นอีกประการหนึ่งของวิทยุในตัวเครื่องก็คือการประมวลผลแบบอิสระที่แยกจากการประมวลผลของตัวเครื่องทำให้ผู้ใช้สามารถฟังวิทยุพร้อมกับใช้งานส่วนอื่น
ๆ ของเครื่องไปได้พร้อมกันครับ
Operator logo & Wallpaper
ในส่วนของการปรับแต่งภาพพื้นหน้าจอ
เราสามารถใช้ภาพถ่ายจากกล้อง หรือนำภาพที่มีอยู่ในเครื่องซึ่งได้จากการดาวน์โหลดผ่านสายดาต้า
, MMS หรืออินฟราเรดพอร์ตมากำหนดให้เป็นภาพพื้นหลังที่หน้าจอ
ซึ่งถ้าหากเป็นภาพที่มีขนาด 128 x 128 พิกเซลก็จะได้ภาพที่เต็มหน้าจอพอดี
ทั้งนี้การดาวน์โหลดภาพผ่านอินฟราเรดพอร์ตหรือสายดาต้านั้นจะต้องใช้โปรแกรม
Nokia image converter ทำการส่งภาพไปยังมือถือเท่านั้น
และนอกจากนี้แล้วเรายังสามารถดาวน์โหลดภาพ
operator logo ขนาดเล็กมาแทนชื่อ operator
ที่เป็นอักษรได้อีกด้วยครับ

Polyphonic ringing tone สำหรับเสียงดนตรีเรียกเข้าของ
6220 ยังคงเป็นเสียงดนตรีแบบ polyphonic ที่ใช้ไฟล์ชนิด
SP-Midi ซึ่งมีเพลงมาตรฐานให้เลือกในเครื่องทั้งหมด
11 เพลงและเพลงที่ติดตั้งมาให้ล่วงหน้าอีก
30 เพลง บางเพลงจะรองรับระบบสั่นสะเทือนตามจังหวะเพลงอีกด้วย
นอกเหนือจากเพลงมาตรฐานเหล่านี้ คุณยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์เพลงผ่านช่องทางการรับข้อมูลต่างๆ
ของเครื่องอันได้แก่ XHTML browser , MMS
, สายดาต้า และอินฟราเรดพอร์ต มาเก็บไว้ในหน่วยความจำภายในเครื่องได้มากเท่าที่ต้องการจนกว่าหน่วยความจำ
4 เมกะไบต์จะเต็ม หรือจะบันทึกเสียงของตัวเองและนำมาใช้เป็นเสียงเรียกเข้าก็ยังได้
ส่วนในแง่ของความชัดเจนของเสียงเรียกเเตือนนั้นคงไม่ต้องกล่าวกันมากนักเพราะเพียงแค่ชื่อแบรนด์ของโนเกียก็รับประกันคุณภาพได้เป็นอย่างดีครับ
Organizer ข้อแตกต่างประการที่
5 ที่โนเกีย 6220 พัฒนาเหนือกว่ารุ่นก่อนๆ
ก็คือการลบจุดด้อยด้านปฏิทินที่ในสมัยก่อนจะมีเฉพาะปฏิทินมุมมองแบบเดือน
แต่ในครั้งนี้ทางโนเกียได้เพิ่มมุมมองปฏิทินในแบบสัปดาห์ที่สามารถสรุปตารางนัดหมายของผู้ใช้ออกเป็นกราฟได้
พร้อมทั้งยังรองรับการจดบันทึกนัดหมายภาษาไทย
มีระบบบันทึกรายการที่ต้องทำ (to do list)
และจดบันทึกโน้ตขนาดยาว 3,000 ตัวอักษรได้เช่นเดิมครับ
Voice Recognition การรองรับคำสั่งเสียงของโนเกีย
6220 มีความสามารถครบทั้ง 3 รูปแบบ อันได้แก่
ระบบโทรออกด้วยเสียง (voice dial) 10 หมายเลข
ระบบเข้าเมนูด้วยเสียง (voice command) 5
คำสั่ง และระบบบันทึกเสียงที่สามารถบันทึกเสียงได้นานครั้งละ
1 นาทีสำหรับการใช้เป็นเสียงเรียกเข้าหรือใช้บันทึกเพื่อช่วยจำแทนการจดด้วยปากกาครับ
Java enabled โนเกีย 6220
ยังคงรองรับจาวาแอพพลิเคชั่นเช่นเดียวกับโนเกียรุ่นอื่นๆ
โดยผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นประเภทโปรแกรมประยุกต์
หรือจาวาเกมผ่านสายดาต้า และอินฟราเรดพอร์ตมาติดตั้งและใช้งานภายในเครื่องได้
หรือถ้าหากไม่ต้องการใช้งานอุปกรณ์เสริมใดๆ
ให้วุ่นวายก็สามารถที่จะทำการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจากเว็บไซต์ทั่วไปด้วย
XHTML browser ได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ทางโนเกียยังได้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้งานมาให้
3 แอพพลิเคชั่นได้แก่ converter2 (โปรแกรมคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน)
, portfolio2 และ world clock2 (นาฬิกาแสดงเวลาทั่วโลก)
นอกจากนี้ยังมีจาวาเกมแถมมาให้อีก 3 เกม ได้แก่
water rapids , backgammon , chess puzzle
SyncML ณ วันนี้เราอาจยังมองไม่เห็นความสำคัญของการ
synchronize ข้อมูลกับเครือข่ายเพื่อสำรองข้อมูลต่างๆ
ที่บันทึกไว้ในเครื่องเท่าใดนัก เนื่องจากเครือข่ายเองก็ยังไม่พร้อมเต็มที่ที่จะให้บริการในส่วนนี้
แต่อย่างไรก็ตาม โนเกีย 6220 ก็ได้เตรียมความสามารถนี้ไว้ให้ผู้ใช้ในอนาคตเป็นที่เรียบร้อย
โดยผู้ใช้สามารถ back up ข้อมูลประเภทนัดหมาย
และรายชื่อในสมุดโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ของเครือข่ายเผื่อกรณีที่ทำเครื่องหายหรือถูกลบข้อมูลก็ยังสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้อย่างง่ายดายครับ

WAP 2.0 over GPRS/ EDGE ข้อแตกต่างประการที่
6 เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ถูกหยิบยกมาเป็นจุดขายหลักของโทรศัพท์รุ่นนี้ก็คือการรองรับระบบการรับ/ส่งข้อมูลแบบใหม่ที่เรียกว่า
EDGE (Enhanced Data rates for GSM Evolution)
โดยเบื้องต้น ในทางทฤษฎี ระบบนี้สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ความเร็วสูงสุด
118.4 กิโลบิตต่อวินาทีหรือเทียบเท่ากับความเร็วสองเท่าของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ
CSD ผ่านสายโทรศัพท์บ้านธรรมดา นับว่าเร็วกว่าระบบ
GPRS ในปัจจุบันหลายเท่าตัวมาก เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่ทางเครือข่ายต่างๆ
ในประเทศไทยรองรับคุณก็จะสามารถใช้ 6220 ต่อกับ
notebook หรือ PDA ผ่านอินฟราเรดพอร์ตหรือสายดาต้าเพื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่เทียบเท่ากับระบบ
ISDN เลยทีเดียว และไม่เพียงแต่การใช้งานคู่กับอุปกรณ์ภายนอกเท่านั้น
เรายังสามารถใช้เบราเซอร์ภายในเครื่องอันได้แก่
WAP2.0 หรือ XHTML browser ในการท่องอินเทอร์เน็ตที่เป็นไฟล์
XML หรือ HTML ได้ดั่งใจครับ
Extras Feature ความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ
6220 จะประกอบด้วย นาฬิกาปลุก เครื่องคิดเลข
นาฬิากาจับเวลา ระบบสนทนาแบบแฮนด์ฟรีในตัว
และโปรแกรม wallet สำหรับเก็บรหัสลับส่วนตัว
My Experience

ถ้าจะให้ดูที่สายการผลิตโทรศัพท์ของโนเกียในอนาคตแล้วช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงกลางถึงช่วยปลายของโทรศัพท์ในตระกูล
NokiaOS40 ซึ่งก็เป็นที่น่าแปลกใจที่ทางโนเกียเพิ่งจะปรับปรุงแก้ไขจุดด้อยต่างๆ
ของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงนี้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้รับการแก้ไขและเพิ่มเติมเข้ามาทั้ง
6 ประการในโนเกีย 6220 อันได้แก่ เมนูแบบ
grid view , ระบบ picture cli , ระบบ MMS
, ระบบ presence-enhanced contacts , ปฏิทินแบบสัปดาห์
และระบบ EDGE ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ 6220 มีเสน่ห์ในการใช้งานขึ้นมาก
เสียอยู่อย่างเดียวที่หน้าจอสีออกจะไม่เหมาะสมต่อการใช้งานควบคู่กับกล้องถ่ายรูปเท่านั้นครับ
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้อง

สรุป

ถ้าจะให้เปรียบเทียบความสามารถของ 6220
กับรุ่นอื่นของโนเกียที่มีขนาดหน้าจอเท่ากันผมคงต้องฟันธงไปเลยว่าในขณะนี้
6220 มีความสามารถมากที่สุด เพราะไม่ว่าจะเป็นความสามารถทางกายภาพหรือทางซอฟท์แวร์ก็ล้วนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก
สำหรับผู้ที่เหมาะต่อโทรศัพท์รุ่นนี้คงจะหนีไม่พ้นคนที่กำลังมองหาอุปกรณ์สำหรับใช้เพื่อการรับ/ส่งข้อมูลความเร็วสูง
รวมถึงผู้ที่กำลังมองหามือถือที่ถ่ายรูปได้และฟังวิทยุได้
โนเกีย 6220 จะเป็นโทรศัพท์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานของคุณครับ

Strength
|
Weakness
|
- มีกล้องถ่ายรูปในตัว
- สามารถถ่าย video clip
ได้ - รองรับระบบ CSD,HSCSD,GPRS
และ EDGE - มีระบบ
presence-enhanced contacts
- กำหนดภาพถ่ายในสมุดโทรศัพท์ได้
- XHTML browser -
รองรับจาวาเทคโนโลยี -
มีวิทยุ FM ในตัว -
หน่วยความจำมีขนาดใหญ่ (4 MB.)
|
- หน้าจอยังไม่เหมาะต่อการใช้เป็น
viewfinder ของกล้อง -
ปุ่มกดอยู่ชิดกันเกินไป
|
ข้อมูลโดยรวมทั่วไป
- น้ำหนัก 92 กรัม -
ขนาด 107 x 45 x 19 มม. - Tri-band
(GSM900/1800/1900) - หน้าจอ passive
matrix 4,096 สี - เปลี่ยนหน้ากากได้
- หน่วยความจำส่วนกลาง 4 เมกะไบต์
- มีวิทยุ FM stereo ในตัว -
เมนูหลักแบบไอคอนและแบบรายการ -
ปุ่มควบคุมสี่ทิศทาง - กล้องถ่ายรูปในตัว
ถ่ายภาพได้ที่คุณภาพสูงสุดระดับ CIF (352
x 288 พิกเซล) - บันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้
20 วินาทีต่อไฟล์ - สมุดโทรศัพท์แบบรูปภาพ
(บันทึกได้ 5 หมายเลข + 5 ข้อความต่อรายชื่อ)
- สามารถโชว์ภาพพร้อมเบอร์เมื่อมีสายเรียกเข้า
- รองรับระบบ presence-enhanced contact
- เสียงเรียกเข้าแบบ polyphonic มาตรฐาน
11 เพลง - สามารถบันทึกเสียงตัวเองให้เป็นเสียงเรียกเข้าได้
- มีระบบสั่นสะเทือนตามจังหวะเพลง
- ชุดรูปแบบการตั้งค่าตามสถานการณ์
5 รูปแบบ - ดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้าและภาพพื้นหลังได้
- เสียงเรียกเข้าติดตั้งล่วงหน้า 30
เพลง - เลือกรับสายล่วงหน้าได้
- อ่านและพิมพ์ข้อความภาษาไทยได้
- รองรับระบบ MMS แบบ multi-slide
- มีระบบ E-mail client ในตัว (แต่รับ-ส่ง
attach file ไม่ได้) - ระบบช่วยสะกดคำภาษาอังกฤษ
T9 - บันทึกเสียงได้ครั้งละ 1 นาที
- โทรออกด้วยเสียงได้ 5 หมายเลขและเข้าเมนูด้วยคำสั่งเสียงได้
5 รายการ - ปฏิทิน 3 มุมมอง (6
สัปดาห์) - มีระบบบันทึกโน้ตย่อ
(ความยาวสูงสุด 3,000 ตัวอักษรต่อข้อความ)
- มีระบบบันทึก To Do List -
รองรับจาวาแอพพลิเคชั่น - รองรับระบบ
SyncML - รองรับการรับ-ส่ง data
ผ่านระบบ CSD,HSCSD,GPRS และ EDGE -
WAP browser 2.0 และ XHTML browser -
มีอินฟราเรดพอร์ตในตัว - 3 เกมติดตั้งล่วงหน้า
water rapids , backgammon และ chess puzzle
- นาฬิกาปลุก เครื่องคิดเลข นาฬิากาจับเวลา
ระบบสนทนาแบบแฮนด์ฟรีในตัว นาฬิกาบอกเวลาทั่วโลก
โปรแกรมคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน และโปรแกรม wallet
- battery : Li-ion 720 mAh (BLD-3)
- stand by : 150-300 ชม. -
talk time : 2-5 ชม.

รายละเอียดทั้งหมดของเครื่อง
Phone Features |
รุ่น |
Nokia 6220 |
ขนาด |
107 x
45 x 19 |
น้ำหนัก |
92 |
ระบบ |
GSM
900/1800/1900 |
หน้าจอ |
passive matrix 4,096 สี |
สมุดโทรศัพท์ |
300
รายชื่อ (5 หมายเลข + 5 ข้อความ) |
กลุ่มรายชื่อ |
5
กลุ่ม |
เปลี่ยนภาพพื้นที่หน้าจอ |
ได้ |
เปลี่ยนภาพพักหน้าจอ |
ไม่ได้ |
ตารางนัดหมาย |
ปฏิทิน
3 มุมมอง |
Picture CLI |
มี |
การรับ-ส่งข้อมูล |
CSD,HSCSD,GPRS,EDGE |
การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก |
data
cable , IrDA |
เกม |
3
เกมติดตั้งล่วงหน้า |
แฮนด์ฟรีในตัว |
มี |
กล้องดิจิตอล |
มี |
วิทยุ FM |
ได้ |
ฟังเพลง |
ไม่ได้ |
J2ME |
มี |
MMS |
มี |
EMS |
ไม่มี |
E-mail |
มี
(POP3/IMAP4/SMTP) |
WAP browser |
WAP2.0
/ XHTML browser |
เมนูภาษาไทย |
มี |
อ่านข้อความภาษาไทย |
ได้ |
พิมพ์ข้อความภาษาไทย |
ได้ |
ระบบช่วยสะกดคำภาษาไทย |
ไม่มี |
ระบบช่วยสะกดคำภาษาอังกฤษ |
T9 |
สั่งงานด้วยเสียง |
5
คำสั่ง |
โทรออกด้วยเสียง |
10
หมายเลข |
บันทึกเสียง |
รายการละ 1 นาที (up to memory) |
profile |
5
รูปแบบ |
เสียงเรียกเข้า |
polyphonic 11 เพลง + ติดตั้งล่วงหน้า 30 เพลง + ดาวน์โหลดได้ (4
Mb.) |
โปรแกรมแต่งเสียงเรียกเข้า |
ไม่มี |
โปรแกรมแปลงค่าเงิน |
มี
(java application) |
เครื่องคิดเลข |
มี |
นาฬิกาจับเวลา |
มี |
ระบบสั่น |
มี |
นาฬิกาปลุก |
มี |
เปลี่ยนอุปกรณ์ |
หน้ากากด้านหน้า , ปุ่มกด , ฝาครอบแบตเตอรี่ |
talk time |
2-5
ชม. |
stand by |
150-300 ชม. |
อื่นๆ |
ระบบ
presence-enhanced contacts ,
บันทึกเสียงพูดเป็นเสียงเรียกเข้าได้ |
ราคา |
N/A | 
ขอขอบคุณ เว็บไซต์ www.min4.com
ที่เอื้อเฟื้อเนื้อหาบทความทดสอบ และ รูปภาพ
สำหรับ โทรศัพท์มือถือ รุ่นนี้ และ
คุณกานต์ รังคสิริ เว็บมาสเตอร์ของ
www.min4.com
มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม
Oska (Thaimobilecenter Editor) : [email protected]
:: ไปหน้าแรกเว็บไซต์ Thaimobilecenter
| ไปหน้าแรก
Mobile Focus ::
|